ท่ากรรเชียง
การว่ายท่ากรรเชียงเป็นท่าว่ายที่สวยที่สุด การว่ายกรรเชียงมีประโยชน์ที่จะยืดกล้ามเนื้อ การว่ายกรรเชียง มีหลักเกณฑ์คล้าย ๆ กับการว่ายท่าฟรีสไตล์ ์แตกต่างที่ท่ากรรเชียงเป็นการหงายตัวราบกับระดับน้ำ แต่การว่าย ฟรีสไตล์เป็นการคว่ำตัว และการวางมือหรือผลักน้ำที่เหมาะมือเป็นอัจฉริยะของนักว่ายน้ำ
ต่อไปนี้เป็นการแนะนำการว่ายกรรเชียง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การว่ายและเรียนรู้ใช้ความคิดด้วยตัวคุณจะพัฒนาทักษะการว่ายโดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และส่วนสำคัญอย่างมากคือการลื่นไหลและการต้านของน้ำ การว่ายท่ากรรเชียง คุณต้องนอนหงายแล้วว่ายในลักษณะเคลื่อนที่ไปด้านหลัง แต่การทำงานของแขนและมือจะคล้ายกับท่าฟรีสไตล์มาก เรามาดูกันว่า เราต้องทำอย่างไรบ้าง
ต่อไปนี้เป็นการแนะนำการว่ายกรรเชียง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การว่ายและเรียนรู้ใช้ความคิดด้วยตัวคุณจะพัฒนาทักษะการว่ายโดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และส่วนสำคัญอย่างมากคือการลื่นไหลและการต้านของน้ำ การว่ายท่ากรรเชียง คุณต้องนอนหงายแล้วว่ายในลักษณะเคลื่อนที่ไปด้านหลัง แต่การทำงานของแขนและมือจะคล้ายกับท่าฟรีสไตล์มาก เรามาดูกันว่า เราต้องทำอย่างไรบ้าง
การว่ายท่ากรรเชียง คุณต้องนอนหงายแล้วว่ายในลักษณะเคลื่อนที่ไปด้านหลัง แต่การทำงานของแขนและมือจะคล้ายกับท่าฟรีสไตล์มาก เรามาดูกันว่า เราต้องทำอย่างไรบ้าง
1. เมื่อคุณยืดแขนออกไปแล้ว แขนคุณต้องชิดหู ไม่ใช่เอาหูไปชิดแขน
2. ให้คุณกดแขนลงไปในน้ำ ที่สำคัญปล่อยไหล่ตามสบาย ถ้าคุณเกร็งไหล่ให้อยู่กับที่เอาไว้ คุณจะกดแขนลงน้ำไม่ได้
3. งอข้อศอกและตั้งมือ พร้อมทั้งดันน้ำผ่านไปทางต้นขาของคุณอย่างรวดเร็ว
4. จังหวะสุดท้ายของการดันน้ำ ให้คุณกดมือลงอย่างแรง จนแขนของคุณตึง
5. เมื่อคุณยกแขนขึ้นมาจากน้ำ คุณต้องไม่งอข้อศอก และวางแขนไปด้านหลังโดยไม่ฟาดน้ำ โดยการวางแขนนั้นให้คุณหันฝ่ามือเอานิ้วก้อยลงก่อน
6. เริ่มทำข้อ 1. กับแขนอีกข้าง
การใช้ขาในท่ากรรเชียง
การเตะขาที่ถูกวิธี จะช่วยทำให้คุณว่ายน้ำได้เร็วและดีขึ้น เพราะมันจะช่วยให้การทรงตัวของร่างกายคุณสมบูรณ์แบบ การเตะขาจะคล้ายคลึงกับการเตะขาท่าฟรีสไตล์มากแต่จะมีน้ำหนักมากกว่า โดยใช้แรงส่งจากสะโพกขึ้นไป และขาต้องพลิ้วเหมือนหางปลา ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เท้าต้องไม่โผล่พ้นน้ำจนเห็นหน้าแข้งและเท้าต้องไม่มีการตั้งขึ้นมา คือไม่จิ้มและไม่เกร็งข้อเท้า มิฉะนั้นเท้าของคุณจะไม่มีหน้าสัมผัสที่จะเตะน้ำ หัวเข่าก็เช่นกัน ไม่งอค้างเอาไว้เหนือน้ำ
ข้อควรจำ
1. ในการวางแขนลงน้ำเพื่อจะดึงน้ำต่อไป คุณต้องให้นิ้วก้อยลงน้ำก่อนเสมอ
2. คุณไม่ต้องกังวลเรื่องที่น้ำจะเข้าหน้าคุณ เพราะว่าถ้าคุณว่ายถูกต้อง น้ำก็เข้าหน้าคุณอยู่แล้ว ให้คุณแก้ไขโดยกำหนดจังหวะหายใจ เช่น ยกแขนขวาขึ้นหายใจเข้า ยกแขนซ้ายหายใจออก เป็นต้น
3. ให้คุณเก็บคางเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่ก้มจนหูพ้นน้ำ และไม่เงยจนกระทั่งหน้าจมลงไปในน้ำ
4. ยืดตัวเอาไว้ อย่างอตัวเป็นกุ้งเด็ดขาด
วิธีว่ายน้ำท่ากรรเชียงให้เร็ว
1. เริ่มจากการกระโดดน้ำที่ถูก: โดยเหยียดตัวในลักษณะโค้งไปข้างหลังตามรูปแล้วเอาปลายมือลงไปในน้ำก่อน ตามด้วยแขน และหัวกับลำตัว
2. ลอยตัวขึ้นให้ถูก: หลังจากที่กระโดดน้ำเสร็จ ตัวคุณจะจมอยู่ใต้น้ำ และหลายๆคนเข้าใจผิดที่รีบใช้ Stroke แขนในทันทีทันใด เพราะนี่คือวิธีที่ผิด ที่จริงแล้วในขณะที่คุณอยู่ใต้น้ำ คุณต้องใช้ขาแตะน้ำในลักษณะคล้ายปลาโลมา (Dolphin Kick) โดยแขนทั้งสองเหยียดตรงนิ่ง จนกว่าตัวคุณจะขึ้นเสมอน้ำ วิธีนี้จะช่วยทำความเร็วได้มาก โดยทั่วไปแล้วคุณควรอยู่ใต้น้ำประมาณ 15 เมตรก่อนจะเริ่มใช้ Stroke แขน และเปลี่ยนจากการแตะน้ำในลักษณะคล้ายปลาโลมาเป็นการแตะน้ำแบบปกติ (Flutter Kick)
3. จ้วงไปข้างหน้า (ข้างหน้าในทิศทางที่จะไป): ยืดแขนและจ้วงไปจ้างหน้าให้ได้ไกลที่สุดเพื่อเพิ่มความเร็วและเป็นการใช้ Stroke อย่างคุ้มค่า ไหล่ของคุณจะต้องช่วยส่งกำลังไปด้วย ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งก็ให้พายไปข้างหลังจนกระทั่งขนานกับลำตัว และขาที่แตะน้ำควรจะอยู่ระดับผิวน้ำเพื่อถ่ายแรงได้เต็มที่
4. การใช้แขน:โดยทั่วไปแล้วเมื่อคุณยกแขนขึ้นเพื่อเตรียมจ้วง แขนด้านที่ยกขึ้นของคุณจะทำมุมในแนวตั้งประมาณ 60-70 องศากับผิวน้ำ และทำมุมในแนวนอนประมาณ 45 องศากับแนวตรงของลำตัวเพื่อเตรียมจ้วงลงใต้น้ำต่อไป หากคุณฝึกจนคล่องแะมีจังหวะที่ดีแล้วท่ากรรเชียงของคุณจะสามารถมองเป็นรูปตัว J ในแนวขวาง ซึ่งเป็นท่าที่มีประสิทธิภาพเพราะการส่งแรงจะเป็นไปอย่างสมดุล และข้างล่างนี้คือ Tips ที่เราแนะนำ
- เมื่อเอามือพายใต้น้ำ มือที่จ้วงควรจะให้นิ้วเรียงชิดติดกับและโค้งงอเล็กน้อย
- เมื่อยืดแขนออกไป แขนคุณต้องชิดหู
- เมื่อแขนลงไปในน้ำ ควรปล่อยไหล่ตามสบาย เพราะหากเกร็งไหล่ให้อยู่กับที่เอาไว้คุณจะกดแขนลงน้ำไม่ได้
- ควรงอข้อศอกและตั้งมือ และดันน้ำผ่านไปทางต้นขาด้วยความรวดเร็ว
- ในการวางแขนลงน้ำเพื่อจะจ้วง จะต้องให้นิ้วก้อยลงน้ำก่อนเสมอ
5.การใช้ขา: คุณไม่ควรใช้หัวเขาเป็นแกนในการแตะขา
แต่ควรใช้ขาทั้งท่อนที่ยาวกว่าในการแตะน้ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วได้มาก
อีกทั้งยังไม่ควรแตะที่เกินระดับผิวน้ำมากเกินไป สังเกตง่ายๆว่าหากคุณแตะขาแล้วคุณรู้สึกว่าคุณกำลังดันน้ำไปข้างหลังตัวคุณ
แปลว่าคุณกำลังทำถูกแล้ว แต่ถ้ารู้สึกว่าดันไปผิดทิศทางคุณควรปรับท่าซะใหม่
6.การใช้สัดส่วนแขนกับขาที่ถูก: โดยทั่วไปแล้วในวิธีว่ายน้ำท่ากรรเชียงคุณควรใช้การแตะ Flutter Kick ประมาณ 4-7 ครั้งต่อ 1 Stroke ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพละกำลังและความชำนาญของแต่ละคนที่ต่างกันด้วย
7.หายใจอย่างสมดุล: เช่นเดียวกับวิธีว่ายน้ำอื่นๆ การหายใจเป็นเทคนิคที่สำคัญมากในการเพิ่มความเร็ววิธีว่ายน้ำท่ากรรเชียงไม่แพ้กับความแข็งแรงของร่างกาย โดยคุณต้องหายใจด้วยปากไม่ใช่จมูกเพื่อสูดอากาศได้อย่างเต็มที่และรวดเร็ว และควรหายใจออกในช่วงจังหวะดันน้ำเพื่อให้กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้น
ประเภภทการแข่งขัน
- กรรเชียง 100 เมตร
- กรรเชียง 200 เมตร
การหมุนแขนกรรเชียงมีทั้งหมดกี่จังหวะหรอคะ
ตอบลบ